2 . ชาติภูมิกำเนิดของพระพุทธเจ้าเป็นชาวฮินดูอยู่ในวรรณะสูงแม้แต่ชาวฮินดูธรรมดาก็ไม่เสพเนื้อสัตว์มาตั้งแต่พุทธกาลหลายพันปีมาแล้วจวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้ และบรรดาศากยวงค์อันเป็นเชื้อสายของพระพุทธเจ้าปัจจุบันนี้ก็ยังมีอยู่ล้วนเป็นผู้ไม่เสพเนื้อสัตว์ ต่างก็กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า “ในศากยวงค์ไม่เคยปรากฏว่า มีการเสพเนื้อสัตว์”
3 . พระพุทธเจ้ามีพระจริยาวัตรงดงามทรงฉันโดยอาการสำรวม อาหารผักผลไม้ย่อมสะดวกต่อการขบฉันเป็นอันมาก เนื้อสัตว์ที่คนเราธรรมดากินมีทั้งก้าง กระดูก หนัง ลำบากต่อการกินต้องฉีกดึงแทะกัด ล้วนเป็นอาการกินที่ไม่สำรวม ไม่น่าดูเลย กริยาอย่างนี้ย่อมไม่พบในองค์พระบรมศาสดาเป็นแน่
4 . ขณะที่ทรงเสด็จออกบวชจนกระทั้งตรัสรู้และออกจาริกเทศนาตลอดพระชนม์ชีพพระพุทธเจ้าใช้เวลาส่วนใหญ่ประทับอยู่ในป่า อาหารที่เป็นธรรมชาติที่สุดก็คืออาหารจำพวกพืชผักผลไม้ สามารถหาได้ง่ายไม่สิ้นเปลืองสะดวกต่อการจัดหามาบริโภค เหมาะแก่การดำรงตนเป็นผู้เลี้ยงง่าย อันหมายถึงผู้ปฏิบัติธรรมที่แท้จริง
5 . น่าคิดว่านายจุนทะเองก็เป็นแขกฮินดู ซึ่งตามธรรมดาชาวฮินดูจะไม่กินเนื้อสัตว์กันมาตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล นายจุนทะจะเอาเนื้อหมูมาถวายพระพุทธเจ้าได้อย่างไร ? -หมายเหตุ “พระมหาเถระอัมริตนันทะ ผู้มีชื่อเสียงแห่งประเทศเนปาล ซึ่งเป็นบุตรหลานในตระกูลที่สืบเชื้อสายมาจาก ศากยวงศ์ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านได้ยืนยันให้โลกรู้ว่า นับตั้งแต่โบราณกาลมาตราบจนถึงทุกวันนี้ ในราชวงศ์ของท่านนั้นไม่เคยมีใครเสพเนื้อสัตว์เลยพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลายก็มิได้เสพเนื้อสัตว์เช่นกัน ใน ลังกาวตารสูตร และพระสูตรอื่น ๆอีกมาก ได้จารึกพระวจนะของพระพุทธองค์มีบ่งบอกไว้ชัดเจนว่าพระองค์มิได้เสวยเนื้อสัตว์ใดๆ และทรงสรรเสริญคุณของการงดเสพเนื้อสัตว์
จนกระทั่งราวปี พ.ศ. 900 มีการเขียนเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงโดยชนรุ่นหลังว่า พระพุทธเจ้าเสวยเนื้อสัตว์ คงเป็นเพราะอยากกินเนื้อสัตว์เสียเอง จึงถือโอกาสอ้างพระนามของพระบรมศาสดาเสียเลย เวรกรรมจริงๆ กรรมหนักมากเสียด้วย !
สูกรมัททวะที่พระพุทธองค์เสวยเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่ชาวพุทธทั้ง
ฝ่ายเถรวาทและมหายาน ต่างตีความเข้าข้างตนเองกล่าวคือ
ทางฝ่ายมหายานหรือสำนักที่ไม่ทานเนื้อสัตว์ก็ตีความว่าเป็นเห็ดชนิดหนึ่ง
ที่หมูชอบกิน แต่ฝ่ายเถรวาทตีความว่าเป็นเนื้อสุกรอ่อน หรืออาหาร
ชนิดหนึ่ง หรือสมุนไพรชนิดหนึ่ง มีข้อความหนึ่งที่นำมาจาก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม 9 ภาค 2 - หน้าที่
748 เรื่องธรรมดาของพระพุทธเจ้า (มี 30 ข้อ ยกมา 2 ข้อ)
ข้อ 8 เสวยข้าวมธุปายาส ในวันที่ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณ
ข้อ 29 เสวยรสมังสะ ในวันปรินิพพาน
ถ้าข้อธรรมนี้ปรากฏจริงในพระไตรปิฎกมาแต่เดิมและไม่คลาดเคลื่อน
และคำว่า รสมังสะ คืออาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ ตรงนี้น่าจะสรุปได้ว่า
พระพุทธองค์เสวยเนื้อสุกรอ่อนในวันปรินิพพานหรือมิฉะนั้น
ก็เสวยเนื้อสัตว์อื่นๆ ในวันนั้นด้วย และขยายความต่อไปได้อีกว่าโดยปกติ
พระองค์เสวยอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์ ทำให้กระเพาะอาหารหรือน้ำย่อย
ไม่คุ้นเคยกับเนื้อสัตว์ (ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีในหมู่ผู้ที่ทานมังสวิรัติ
มานานแล้วกลับมาทานเนื้อสัตว์อาจถึงขั้นปากพอง หรืออาหารเป็นพิษ)
เป็นเหตุแห่งพระโรค
งานผมคือรับผลิตเครื่องควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์ไฟฟ้าชนิดสามเฟสด้วย micro controller และไม่รับงานที่ผิดศีลห้า และไม่ขายให้กับ คนทุศีลหรือไปใช้งานที่ผิดศีลโดยเด็ดขาด ดูตัวอย่างงานที่ทำตามภาพครับ
1 แผงวงจรใช้ IC INTEL S87C196MC
เครื่องควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์ไฟฟ้าสามเฟสด้วยไฟฟ้าเฟสเดียว
UPD6254 S87C196Mc
3 phase inverter
เครื่องปรับรอบมอเตอร์ไฟฟ้าสามเฟส
S87C196MC
3 phase induction motor speed controller
3 phase induction motor controller
ipm for 3 phase induction motor speed control tl105c
ipm for 3 phase induction motor speed control tm52a