วันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560
สมาธิชอบถ้าเราภาวนาไปนะ จนใจเราอิ่ม ใจเราพอ ใจเราพอแล้วเขาตัดของเขาเอง ไม่มีใครสั่งจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จำไว้นะ ไม่ใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จิตที่เจริญสติเจริญปัญญาจนแก่รอบนั้นแหละ เขาบรรลุมรรคผลนิพพานของเขาเอง เราสั่งเขาไม่ได้..เบื้องต้นมีความสุขเยอะเลย เบื้องปลายเจอความทุกข์เยอะเลย แจ้งแล้วนะ เจอบรมสุข ตรงที่จิตเข้าถึงความเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานนั้นแหละ อวิชาซ่อนอยู่ที่นั้นเอง ไม่รู้ ไม่รู้อะไร ไม่รู้ทุกข์ ทุกข์อะไร ไม่รู้ว่าตัวผู้รู้นี้แหละ ตัวทุกข์ มันบังกันอยู่นิดเดียวเอง..เพราะฉะนั้นไม่รีบร้อนนะ เราทำเหตุ คือเราเจริญสติ เจริญปัญญาไปเรื่อย.. รู้กายรู้ใจด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลางเรื่อยไป ทุกอย่างที่ปรากฎขึ้นในกายในใจ คอยรู้เท่าที่รู้ได้ ไม่ใช่รู้ตลอดเวลา รู้ตลอดเวลาไม่ได้ เพราะสติไม่ได้เกิดตลอดเวลา จิตพวกเราเนี่ย ส่วนใหญ่ที่เกิดคืออกุศลนะ ไม่ใช่สติ นึกออกมั้ย เวลาสติเกิดนะ เกิดแว้บเดียว เวลาหลง หลงนาน หลงตั้ง ๑ นาทีแหน่ะ นี่กับคนเก่งๆนะ คนไม่เก่งภาวนาไม่เป็นนะ หลงตั้งแต่ตื่นจนหลับ ไม่มีสติสักแว้บหนึ่งเลย คนในโลกไม่มีสติแท้ๆนะ ถึงมีสติ ก็เป็นสติอย่างโลกๆ ไม่ใช่สติปัฏฐาน ไม่ใช่สติรู้กายรู้ใจ คนที่มีสติรู้กายรู้ใจเนี่ย นับตัวได้เลย เพราะฉะนั้นคนที่บรรลุมรรคผลนิพพานถึงมีน้อยเหลือเกิน..ตามรู้นะ ตามรู้ลงไปเรื่อย ในที่สุดก็เห็น ไม่มีเราหรอก วันใดที่เห็นว่าโลกนี้ไม่ใช่เราหรอกนะ โลกว่างเปล่า ได้โสดา. จิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเองโดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้นหนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกามคือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อยพวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหมอันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอกอารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียวอาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียวเพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลยเพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเองงั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลยเพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะจิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้วอย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติเพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็นถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน? หมวดหมู่ การศึกษา สัญญาอนุญาต สัญญาอนุญาตมาตรฐานของ YouTube แสดงน้อยลง ความคิดเห็น • 2 สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์ เพิ่มความคิดเห็นสาธารณะ... ความคิดเห็นยอดนิยม สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์ สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์ 1 วินาทีที่ผ่านมา เราจะปฏิบัติเพื่อมุ่งสู่มรรคผลนิพพาน ทำไม เราไม่กำหนดรู้ความว่างหรือมหาสุญญตาโดยตรง ล่ะครับ ทำไมจึงต้องอ้อมไปหานิพพานโดยผ่านทาง การรู้ทุกข์หรือรูปนาม ตอบ นิพพานไม่ใช่โลกอีกอันหนึ่งที่ว่างๆ และไม่มี อะไรเลย แต่นิพพานคือความดับตัณหาหรือวิราคะ และคือความดับของความปรุงแต่ง (รูปนาม) หรือ วิสังขาร ดังนั้นถ้าจู่ๆ เราดูเข้าไปที่ความว่าง เราจะหลงเพ่งช่องว่าง หรือเพ่งความไม่มีอะไรเลย นิพพานชนิดนั้นเรียกได้ว่านิพพานพรหม ไม่ใช่นิพพานพุทธ หนทางปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าพาดำเนินจึงต้องรู้ทุกข์ คือรู้ความปรุงแต่งหรือรูปนาม จนเข้าใจรูปนามตามความเป็นจริงจึงหมดตัณหา เมื่อใดหมดตัณหา เมื่อนั้นธรรมที่ปราศจากตัณหาและปราศจากความปรุงแต่งก็จะปรากฏออก มาให้รู้ได้ด้วยใจ สภาวะใดยังมีตัณหา และสภาวะใดยังมีรูปนาม สภาวะนั้นไม่ใช่นิพพาน ตัวตนและสมมติบัญญัติทั้งหลายคือภาพลวงตาที่ตั้งซ้อนอยู่กับรูปนาม เมื่อเข้าใจรูปนาม ตามความเป็นจริงภาพลวงตาก็หายไป เมื่อเห็นแจ้งอย่างนี้ความยึดถือรูปนามก็ดับไป เมื่อจิตปล่อย วางรูปนามหมดความดิ้นรนแส่ส่ายเพราะความหิว ในอารมณ์ นิพพานคือความดับ แห่งตัณหาก็ปรากฏ ขึ้น เรียกว่ากิเลสนิพพานหรือสอุปาทิเสสนิพพาน เมื่อรูปนามนี้ดำรงสืบต่อจนหมดวิบากที่ส่งผลให้เกิดขึ้นและตั้งอยู่แล้ว รูปนามนั้นก็ดับไปเหมือนไฟหมดเชื้อ เรียกว่าขันธนิพพาน หรือ อนุปาทิเสสนิพพาน จะเห็นได้ว่านิพพานไม่ได้ปรากฏออกมาเพราะการแสวงหานิพพาน แต่ปรากฏเพราะการปล่อยวางความยึดถือในรูปนามเสียได้ ถาม เมื่อเราปฏิบัติมากเข้า สภาวะของสติปัญญา และจิตใจจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างไหมครับ ตอบ เปลี่ยน แต่เขาเปลี่ยนของเขาเอง ไม่ใช่เราไป บังคับให้เขาเปลี่ยนได้ อาตมาจะยกตัวอย่างให้ฟัง สติเบื้องต้นจะเกิดน้อย นานๆจะเกิดครั้งหนึ่ง แต่เมื่อหมั่นตามรู้กายตามรู้ใจเนืองๆ จนจิตรู้จักสภาวธรรมได้มากและแม่นยำแล้ว สติก็จะเกิดเร็วขึ้น ความเผลอก็จะสั้นลงเรื่อยๆ และสตินั้นเบื้องต้นรู้ได้แต่อารมณ์หยาบๆ เบื้องกลางรู้อารมณ์ ได้ละเอียดขึ้น เบื้องปลายรู้ได้ทุกอย่าง ปัญญาเบื้องต้นรู้สภาวะหรือรูปนามเบื้องกลาง รู้ลักษณะหรือไตรลักษณ์ เบื้องสูงรู้อริยสัจจ์ สูงสุดรู้นิพพาน จิตเบื้องต้นคลุกรวมอยู่กับอารมณ์ (จมอยู่กับรูปนาม รู้รูปนามอย่างมีส่วนได้เสีย) เบื้องกลางถอดถอนตนเองขึ้นเอง เริ่มจากการถอดถอน บ้างรวมบ้าง จนไม่รวมเข้ากับรูปนามเลย และเหมือนลอยอยู่กลางความว่าง ถึงจุดนี้ผู้ปฏิบัติอาจจะสงสัยว่าแล้วควรจะให้รู้ที่ใด ระหว่างจิต อารมณ์ และความว่าง จึงเที่ยวค้นคว้าหาทางเดินต่อไป เพราะพอรู้รูปนามก็ทุกข์ พอรู้จิตก็ว่างไม่มีอะไรเหมือนโง่อยู่เฉยๆ (การเพียรรู้รูปนามหรือจิต ก็ยังมีการกระทำหรือกรรมที่เรียกว่าปุญญาภิ-สังขาร) พอจะรู้ความว่างก็ยังต้องส่งใจออกไปรู้ (ว่างชนิดนี้จึงเป็นว่างที่รู้ด้วยอำนาจบงการของตัณหา ยังมีอาเนญชาภิสังขาร ผู้ปฏิบัติอย่างไม่รอบคอบและมีปัญญาไม่พอ จิตจะแล่นไปยึดเอาความว่างคือ "ความไม่มีอะไร" มาแทนขันธ์ เพราะคิดว่าความว่างคือนิพพาน ที่จริงนั่นเป็นอารมณ์อรูปไม่ใช่นิพพาน) เมื่อเจริญสติมากเข้าจนจิตเข้าใจอริยสัจจ์แจ่มแจ้ง คือรู้ว่า "รูปนามหรือขันธ์นั่นแหละคือทุกข์ แต่ถ้าสิ้นตัณหาคือหมดอยากหมดยึดขันธ์ จิตก็หลุดพ้นจากกองขันธ์ ก็คือพ้นทุกข์" เมื่อรู้แจ้งอริยสัจจ์อย่างนี้แล้ว จิตก็ถอดถอนหลุดพ้นออกจากกองทุกข์คือขันธ์ และพ้นจากการกระทบกระทั่งของกิเลส ทุกข์หรือขันธ์ก็ยังคงมีอยู่เพราะวิบากยังให้ผลอยู่ แต่ใจพ้นทุกข์ลอยอยู่เหนือกองทุกข์เพราะสิ้นตัณหาอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตไว้กับขันธ์ ความสิ้นตัณหานี่แหละคือนิพพานเป็นสภาพที่พ้นทุกข์ (ขันธ์) พ้นกิเลส โดยไม่ต้องส่งจิตเข้าไปหานิพพานในความว่างที่ไหนเลย ถึงจุดนั้นจะเห็นชัดว่าสภาวธรรมทั้งปวงคือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน เป็นเพียงอารมณ์ที่ปรากฏเท่านั้น ไม่มีเจ้าของผู้ครอบครองแต่อย่างใดเลย แสดงน้อยลง ตอบกลับ Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol2 เดือนที่ผ่านมา ถ้าเข้าใจแจ่มแจ้ง ในคําสอนของพระพุทธเจ้า จะรู้เลยว่า ขันธ์นั่นแหละเป็นตัวทุกข์ ไม่ใช่ขันธ์นี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง แต่เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อยถ้ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งความอยากให้ขันธ์เป็นสุขจะไม่เกิดขึ้น ความอยากให้ขันธ์พ้นทุกข์ก็ไม่เกิดขึ้น อยากให้มีสุขไปทําไม อยากให้โง่หรือ มันไม่มีทางมีความสุขได้เพราะมันเป็นตัวทุกข์ อยากให้มันพ้นทุกข์หรือ อยากให้โง่สิ เพราะถึงอย่างไรมันก็ทุกข์ ไม่มีทางพ้นเลย ความอยากทั้งหลายแหล่มันก็มีอยู่แค่นี้เอง ความอยากที่ ว่ากิเลส ๑,๕๐๐ ตัณหา ๑๐๘ จริงๆ ก็คืออยากให้ขันธ์เป็นสุข อยากให้ขันธ์พ้นทุกข์ ย่อๆ ลงมาก็คือรักสุขเกลียดทุกข์นั่นแหละพอเข้าใจขันธ์เท่านั้น ความอยากดับเอง ไม่ต้องไปทรมาน กายทรมานใจเพื่อจะดับตัณหา ขอให้รู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้วตัณหา จะดับไปโดยอัตโนมัติเลยถ้าเราเข้าใจตัวนี้ ความเข้าใจมันจะประณีตมาก จิตมันจะสลัดคืนขันธ์ให้โลกไปเลย พอจิตมันเห็นว่าขันธ์ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ขันธ์นี้เป็นทุกข์ล้วนๆ กระทั่งตัวจิตก็เป็นทุกข์ล้วนๆ จิตมันก็อยู่ใน ขันธ์นั่นเอง อยู่ในวิญญาณขันธ์ พอมันปล่อยขันธ์ทิ้งไป ไม่มีอะไรให้ยึดอีก มันก็พ้นจากอุปาทานขันธ์ อุปาทานขันธ์ก็กองอยู่อย่างนั้น กองอยู่กับโลกนั้นเอง ไม่ใช่ต้องไปทําลายล้างมัน มันมีเหตุมันก็เกิด หมดเหตุมันก็ดับ บังคับมันไม่ได้ แต่ใจไม่เข้าไปยึดถือมันแล้ว ที่ใจไม่เข้าไปยึดถือมันก็เพราะรู้ทุกข์แจ่มแจ้ง รู้ว่าขันธ์ทั้งหลาย ทั้งปวงนี้แหละเป็นตัวทุกข์ ฉะนั้น การรู้ทุกข์นี่เป็นเรื่องสําคัญที่สุดสําหรับการปฏิบัติ ธรรมในทางพระพุทธศาสนา ไม่ใช่แค่นั่งสมาธิ หวังว่าทําสมาธิ ไปเรื่อยๆ แล้วจะพ้นทุกข์ ไม่มีทางพ้นเลย ทําสมาธิก็ไปสร้างภพภูมิ ที่ละเอียดขึ้นไปอีก นอกจากการรู้ทุกข์แล้ว ไม่มีวิธีอย่างอื่นที่จะเห็นธรรมได้เลย วิมุตติสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็น เหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะ ครูบางรูปแสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรม ในธรรมนั้นตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่ เธอ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์ แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีการสงบแล้ว ย่อมได้ เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติ ข้อที่ ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ก็แต่ว่าภิกษุย่อม แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เธอ ย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ที่ภิกษุแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์. . .เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น เหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๒. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดง- ธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แต่ว่า ภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรม เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์. . . เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น เหตุแห่งวิมุตติข้อ ๓. . .
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น