เผยแพร่เมื่อ 3 พ.ย. 2011
คำว่า "นิพพาน" มาจากภาษาบาลี Nibbāna निब्बान ประกอบด้วยศัพท์ นิ (ออกไป, หมดไป, ไม่มี) + วานะ (พัดไป, ร้อยรัด) รวมเข้าด้วยกันแปลว่า ไม่มีการพัดไป ไม่มีสิ่งร้อยรัด คำว่า "วานะ" เป็นชื่อเรียก กิเลสตัณหา กล่าวโดยสรุป นิพพานคือการไม่มีกิเลสตัณหาที่จะร้อยรัดพัดกระพือให้กระวนกระวายใจ อันเป็นจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
ในทางมหายานได้กล่าวไว้ใน ธรฺม-ธาตุ-ปรกฺฤตย-อวตาร-สูตฺร (入法界體性經) โดยอธิบายว่า ธรรมธาตุของนิพพานนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิด ไม่ดับ ไม่สกปรก ไม่บริสุทธิ์ ไม่แปดเปื้อน ไม่แปรปรวน ไม่มีผู้ใดดับได้ จึงไม่มีผู้ใดเกิด
พระอนุรุทธาจารย์ ผู้รจนาคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ ได้พรรณนาคุณของนิพพานว่า ปทมจฺจุตฺ มจฺจนฺตํ อสงฺขตมนุตฺตรํ นิพฺพานมีติ ภาสนฺติ วานมุตฺตามเหสโย "พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้พ้นแล้วจากตัณหาเครื่องร้อยรัด ตรัสถึงสภาวะธรรมชาติหนึ่งที่เข้าถึงได้ เป็นธรรมชาติที่ไม่จุติ พ้นจากขันธ์ 5 ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัยใดๆ
ธรรมข้อนี้ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เคยสอนแบบพิสดารว่า
“ท่านเห็นกระจกไหม (หลวงพ่อ ตอบว่า เห็นครับ)
ท่านเห็นตัวที่อยู่ในกระจกไหม (หลวงพ่อ ตอบว่า เห็นครับ)
หลวงปู้ดูลย์ สรุปความเลยว่า ทั้งตัวที่เห็น และตัวที่ถูกเห็นในกระจกนี่ละตัวเกิด
นิพพานอยู่ตรงกลางระหว่างตัวรู้กับตัวถูกรู้ นั่นละ”
ดังนั้น สิ่งที่ผู้สนใจปฏิบัติพึงมี คือ ควรพยายามทำจิตให้เป็นหนึ่งก่อนอันดับแรก เพื่อไม่หลงไหลไปตามสิ่งที่ถูกรู้ ปฏิบัติให้รู้จนมีสติเกิดขึ้นกับตัวรู้จนเด่นชัดด้วยอำนาจของสติ
กล่าวสรุปคือ
“หากผู้รู้อยู่ไหน ก็ให้มีสติตามไปที่นั้น”
เมื่อถึงตรงนี้แล้ว ผู้ปฏิบัติจะพบทางว่า การเรียนรู้จากตัวจิต คือการเรียนรู้จากผู้รู้นี่เอง เป็นการเรียนลงไปในสิ่งที่เป็นสัจจะ คือของจริงที่มีประจำโลก ไม่เคยหายไปไหน ทั้งพระพุทธเจ้า และหมู่สัตว์ก็มีของจริง คือ จิตดวงนี้เสมอเหมือนกันทุกนาม
การเรียนจากของจริงเช่นว่านั้น ไม่ใช่เรียนจากสิ่งจิตปรุงหลอก หรือที่บางท่านเรียกว่า เงาของจิตนั่นเอง
เมื่อถึงตรงนี้แล้ว ท่านผู้ปฏิบัติจะค้นพบสัจธรรมอันเป็นความจริงได้เองว่า
ผู้รู้ก็คือ จิต นั่นเอง
ผู้รู้อยู่ที่ใด นั่นก็เรียกได้ว่า จิตก็อยู่ที่นั้นละ
หากเมื่อผู้ปฏิบัติสามารถเข้าถึงจิตหนึ่งได้แล้ว
ในขั้นนี้ จิตผู้รู้จะเริ่มทวนเข้าหาจิตเอง เนื่องจากอารมณ์ สังขาร สัญญาภายนอกออกแล้ว จิตจะสามารถแยกขันธ์ ออกได้เองว่า
สิ่งใดเป็นจิต สิ่งใดเป็นสิ่งที่จิตปรุงขึ้น
ในทางมหายานได้กล่าวไว้ใน ธรฺม-ธาตุ-ปรกฺฤตย-อวตาร-สูตฺร (入法界體性經) โดยอธิบายว่า ธรรมธาตุของนิพพานนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิด ไม่ดับ ไม่สกปรก ไม่บริสุทธิ์ ไม่แปดเปื้อน ไม่แปรปรวน ไม่มีผู้ใดดับได้ จึงไม่มีผู้ใดเกิด
พระอนุรุทธาจารย์ ผู้รจนาคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ ได้พรรณนาคุณของนิพพานว่า ปทมจฺจุตฺ มจฺจนฺตํ อสงฺขตมนุตฺตรํ นิพฺพานมีติ ภาสนฺติ วานมุตฺตามเหสโย "พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้พ้นแล้วจากตัณหาเครื่องร้อยรัด ตรัสถึงสภาวะธรรมชาติหนึ่งที่เข้าถึงได้ เป็นธรรมชาติที่ไม่จุติ พ้นจากขันธ์ 5 ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัยใดๆ
ธรรมข้อนี้ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เคยสอนแบบพิสดารว่า
“ท่านเห็นกระจกไหม (หลวงพ่อ ตอบว่า เห็นครับ)
ท่านเห็นตัวที่อยู่ในกระจกไหม (หลวงพ่อ ตอบว่า เห็นครับ)
หลวงปู้ดูลย์ สรุปความเลยว่า ทั้งตัวที่เห็น และตัวที่ถูกเห็นในกระจกนี่ละตัวเกิด
นิพพานอยู่ตรงกลางระหว่างตัวรู้กับตัวถูกรู้ นั่นละ”
ดังนั้น สิ่งที่ผู้สนใจปฏิบัติพึงมี คือ ควรพยายามทำจิตให้เป็นหนึ่งก่อนอันดับแรก เพื่อไม่หลงไหลไปตามสิ่งที่ถูกรู้ ปฏิบัติให้รู้จนมีสติเกิดขึ้นกับตัวรู้จนเด่นชัดด้วยอำนาจของสติ
กล่าวสรุปคือ
“หากผู้รู้อยู่ไหน ก็ให้มีสติตามไปที่นั้น”
เมื่อถึงตรงนี้แล้ว ผู้ปฏิบัติจะพบทางว่า การเรียนรู้จากตัวจิต คือการเรียนรู้จากผู้รู้นี่เอง เป็นการเรียนลงไปในสิ่งที่เป็นสัจจะ คือของจริงที่มีประจำโลก ไม่เคยหายไปไหน ทั้งพระพุทธเจ้า และหมู่สัตว์ก็มีของจริง คือ จิตดวงนี้เสมอเหมือนกันทุกนาม
การเรียนจากของจริงเช่นว่านั้น ไม่ใช่เรียนจากสิ่งจิตปรุงหลอก หรือที่บางท่านเรียกว่า เงาของจิตนั่นเอง
เมื่อถึงตรงนี้แล้ว ท่านผู้ปฏิบัติจะค้นพบสัจธรรมอันเป็นความจริงได้เองว่า
ผู้รู้ก็คือ จิต นั่นเอง
ผู้รู้อยู่ที่ใด นั่นก็เรียกได้ว่า จิตก็อยู่ที่นั้นละ
หากเมื่อผู้ปฏิบัติสามารถเข้าถึงจิตหนึ่งได้แล้ว
ในขั้นนี้ จิตผู้รู้จะเริ่มทวนเข้าหาจิตเอง เนื่องจากอารมณ์ สังขาร สัญญาภายนอกออกแล้ว จิตจะสามารถแยกขันธ์ ออกได้เองว่า
สิ่งใดเป็นจิต สิ่งใดเป็นสิ่งที่จิตปรุงขึ้น
หมวดหมู่
สัญญาอนุญาต
- สัญญาอนุญาตมาตรฐานของ YouTube
ความคิดเห็น • 55
๑. โมกขะ นิพพานชื่อว่าโมกขะ เพราะเป็นธรรมเป็นที่หลุดพ้น,เพราะเป็นธรรมที่เป็นเครื่องหลุดพ้นจากกิเลสมีราคะเป็นต้น
๒. นิพพาน ที่ชื่อว่านิพพพาน เพราะเป็นสภาพที่ดับสนิท เหตุเพราะหลุดพ้นจากตัณหาที่เรียกว่าวานะ,เพราะธรรมเครื่องดับไฟคือราคะเป็นต้น,เพราะเป็นสภาพที่สงบจากสังขารธรรมทั้งปวง สลัดอุปธิทั้งปวง สิ้นตัณหา ปราศจากราคะ ดับราคะ,เพราะไม่มีตัณหา
๓. ทีปะ นิพพานชื่อว่าทีปะ เพราะเป็นธรรมเป็นที่พึ่ง(ทีปธรรม),เพราะเป็นที่พึ่งของสัตว์ผู้ถูกห้องน้ำในสงสารพัดพาไป ดุจเกาะเป็นที่พึ่งแก่สัตว์ผู้ถูกกระแสคลื่นพัดพาไป,เพราะทำบุคคลผู้หมดกิเลสให้เกิดเป็นเหมือนปทีปดับ
๔. ตัณหักขยะ นิพพานชื่อว่าตัณหักขยะ เพราะเป็นเหตุสิ้นไปแห่งตัณหา,เพราะมีความสิ้นไปแห่งตัณหาเป็นเหตุ
๕. ปะระ (ปร) นิพพานชื่อว่าปะระ เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อราคะเป็นต้น หรือเพราะมีอรรถประเสริฐสุด
๖. ตาณะ (ตาณ) นิพพานชื่อว่าตาณะ เพราะเป็นเครื่องต้านตัณหา,เพราะปกป้องบุคคลให้พ้นจากอบายเป็นต้น
๗. เลณะ (เลณ) นิพพานชื่อว่าเลณะ เพราะเป็นธรรมที่หลบซ่อนหรือหลีกจากภัยในสงสาร
๘. อรูปะ (อรูป) นิพพานชื่อว่าอรูปะ เพราะเป็นธรรมที่ไม่มีรูปลักษณ์ คือไม่มีรูปร่างสัณฐานว่ายาวและสั้นเป็นต้น
๙. สันตะ (สนฺต) นิพพานชื่อว่าสันตะ เพราะเป็นธรรมเครื่องสงบ(สันตธรรม) ,เพราะกระทำให้ราคะเป็นต้นสงบลงได้
๑๐. สัจจะ (สจฺจ) นิพพานชื่อว่าสัจจะ เพราะเป็นปรมัตถสัจจะ(สัจจธรรม),เพราะเป็นธรรมที่ไม่ผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงหรือเป็นธรรมที่นับเนื่องในสัจจะ ๔
๑๑. อนาละยะ (อนาลย) นิพพานชื่อว่าอนาละยะ เพราะเป็นธรรมปราศจากตัณหา,เพราะเป็นธรรมที่ไม่มีกิเลส,เพราะไม่มีความอาลัยในกาม
๑๒. อสังขะตะ (อสงฺขต) นิพพานชื่อว่าอสังขะตะ เพราะเป็นธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง และเว้นจากลักษณะที่ถูกปรุงแต่ง
๑๓. สิวะ (สิว) นิพพานชื่อว่าสิวะ เพราะเป็นธรรมอันเกษม,เพราะกระทำความเกษมให้,เพราะเป็นธรรมที่ผู้กลัวภัยในสงสารพึงเสพ,เพราะยังบุคคลให้เข้าไปสงบ
๑๔. อมตะ (อมต) นิพพานชื่อว่าอมตะ เพราะเป็นสภาพที่พ้นจากความตาย(อมตธรรม),เพราะไม่มีความตาย จึงชื่อว่าอมตะ
๑๕. สุทุททสะ (สุทุทฺทส) นิพพานชื่อว่าสุทุททสะ เพราะเป็นธรรมที่เห็นได้ยากยิ่ง,เพราะเป็นธรรมที่มองได้ยากยิ่ง
๑๖. ปรายณะ (ปรายณ) นิพพานชื่อว่าปรายนะ เพราะเป็นธรรมที่พระอริยะเข้าถึง,เพราะเป็นธรรมเป็นที่ดำรงอยู่แห่งพระอริยบุคคล
๑๗. สรณะ (สรณ) นิพพานชื่อว่าสรณะ เพราะมีอรรถว่ากำจัดภัย คือทำลายภัยให้พินาศไป,เพราะเป็นธรรมเป็นที่อาศัยอยู่ของพระอริยะ
๑๘. อนีติกะ (อนีติก) นิพพานชื่อว่าอนีติกะ เพราะปราศจากทุกข์,เพราะเป็นธรรมที่ไม่มีความชั่วร้ายคืออันตรายและบ่วง,เพราะไม่มีตัณหาที่ชื่อนีติ ที่นำสัตว์ไปสู่สงสาร
๑๙. อนาสวะ (อนาสว) นิพพานชื่อว่าอนาสวะ เพราะไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ,เพราะไม่มีอาสวะ ๔ อย่าง(อาสวะ ๔ คือ กามาสวะ อาสวะคือกาม,ภวาสวะ อาสวะคือภพ,ทิฏฐาสวะ อาสวะคือทิฏฐิ,อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา)
๒๐. ธุวะ (ธุว) นิพพานชื่อว่าธุวะ เพราะมีอรรถว่ามั่นคง(ธุวธรรม),เพราะมีความหมายว่ามั่นคงหรือไปสู่ความเป็นมัคคารมณ์
๒๑. อนิทัสสนะ (อนิทสฺสน) นิพพานชื่อว่าอนิทัสสนะ เพราะเป็นธรรมที่มองไม่เห็นด้วยตา,เพราะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยจักขุวิญญาณ,เพราะเป็นสภาพที่มองไม่เห็น,เพราะเป็นธรรมที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตา
๒๓. อปโลกิตะ (อปโลกิต) นิพพานชื่อว่าอปโลกิตะ เพราะเป็นธรรมที่ไม่เลือนหาย มีอยู่ตลอดกาลหรือเป็นธรรมที่ปรากฏอยู่โดยความเป็นธรรมที่ไม่เสื่อมฯลฯ
๒๔. นิปุณะ (นิปุณ) นิพพานชื่อว่านิปุณะ เพราะเป็นธรรมที่ละเอียดอ่อน,เพราะเป็นธรรมเครื่องชำระกิเลสของมรรค ๔ ให้หมดจด
๒๕. อนันตะ (อนนฺต) นิพพานชื่อว่าอนันตะ เพราะเป็นธรรมที่ไม่พินาศ,เพราะเป็นธรรมที่ไม่เสื่อมสลายไปตลอดกาล,เพราะไม่มีที่สุดและไม่มีการกำหนดขอบเขต(ไม่มีขอบเขต)
๒๖. อักขระ (อกฺขร) นิพพานชื่อว่าอักขระ เพราะเป็นธรรมที่ไม่เสื่อมสลาย,เพราะเป็นธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่ออสังขตธรรมคือสิ่งที่เสื่อม
๒๗. ทุกขักขยะ (ทุกฺขกฺขย) นิพพานชื่อว่าทุกขักขยะ เพราะเป็นธรรมที่ทุกเบียดเบียนไม่ได้,เพราะเป็นเหตุสิ้นทุกข์ทั้งปวง
๒๘. อัพยาพัชฌะ (อพฺยาพชฺฌ) นิพพานชื่อว่าอัพยาพัชฌะ เพราะเป็นธรรมที่ทุกข์เบียดเบียนไม่ได้,เพราะเป็นธรรมที่ไม่มีความพินาศ
๒๙. วิวัฏฏะ (วิวฏฺฏ) นิพพานชื่อว่าวิวัฏฏะ เพราะไม่มีกิเลสวัฏฏ์ กัมมวัฏฏ์ และวิปากวัฏฏ์ (ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดด้วยอำนาจกิเลส กรรม และวิบาก)
๓๐. เขมะ (เขม) นิพพานชื่อว่าเขมะ เพราะเป็นแดนเกษม(เขมธรรม),เพราะเป็นธรรมอันเกษมจากไฟมีราคะเป็นต้น,เพราะเป็นสถานที่ไม่มีภัย,เพราะเป็นธรรมเป็นเครื่องดับราคัคคิเป็นต้น
๓๑. เกวละ (เกวล) นิพพานชื่อว่าเกวละ เพราะเป็นธรรมที่ไม่มีสังขารปรุงแต่ง
๓๒. อปวัคคะ (อปวคฺค) นิพพานชื่อว่าอปวัคคะ เพราะเป็นสภาพที่เว้นจากสังขาร
๓๓. วิราคะ (วิราค) นิพพานชื่อว่าวิราคะ เพราะเป็นธรรมปราศจากราคะ ฯลฯ
๓๔. ปณีตะ (ปณีต) นิพพานชื่อว่าปณีตะ เพราะเป็นธรรมที่เป็นประธาน,เพราะเป็นธรรมที่ประเสริฐสุด(เป็นธรรมที่ปราณีต)
๓๕. ปทะ (ปท) นิพพานชื่อว่าปทะ เพราะเป็นธรรมที่ซึ่งพระอริยะเข้าถึง
๓๖. โยคักเขมะ (โยคกฺเขม) นิพพานชื่อว่าโยคักเขมะ เพราะเป็นธรรมสิ้นโยคะทั้ง ๔ (กาม ภพ ทิฏฐิ และอวิชชา)
๓๗. ปาระ (ปาร) นิพพานชื่อว่าปาระ เพราะเป็นธรรมที่สามารถสงบความเร่าร้อนเพราะทุกข์ในสงสาร,เพราะเป็นธรรมที่ไม่เป็นซี่ล้อแห่งสงสารวัฏฏ์.
๓๙. มุตติ (มุตฺติ) นิพพานชื่อว่ามุตติ เพราะเป็นธรรมอันหลุดพ้นจากกิเลส,เพราะเป็นธรรมหลุดพ้นจากกิเลสและพ้นจากสรีระและอินทรีย์ (ไม่มีตัวตน)
๔๐. สันติ (สนฺติ) นิพพานชื่อว่าสันติ เพราะเป็นธรรมที่สงบจากกิเลส(สันติธรรม)
๔๑. วิสุทธิ (วิสุทฺธิ) นิพพานชื่อว่าวิสุทธิ เพราะเป็นธรรมอันหมดจดจากมลทินมีราคะเป็นต้น
๔๒. วิมุตติ (วิมุตฺติ) นิพพานชื่อว่าวิมุตติ เพราะเป็นธรรมที่พ้นจากสังขารทั้งปวง
๔๓. อสังขตธาตุ (อสงฺขตธาตุ) นิพพานชื่อว่าอสังขตธาตุ เพราะเป็นธรรมที่มีธาตุที่ไม่ถูกสร้างขึ้นด้วยเหตุปัจจัย แต่เป็นธาตุที่ทรงไว้ซึ่งลักษณะความสงบ
๔๔. สุทธิ (สุทฺธิ) นิพพานชื่อว่าสุทธิ เพราะเป็นธรรมเครื่องชำระมลทินมีราคะเป็นต้น,เพราะชำระสัตว์จากมลทินมีราคะเป็นต้น,เพราะเป็นธรรมที่บริสุทธิ์โดยปรมัตถ์
๔๕. นิพพุติ (นิพฺพุติ) นิพพานชื่อว่านิพพุติ เพราะเป็นธรรมที่ออกจาตัณหา,เพราะเป็นธรรมที่ปราศจากตัณหาเครื่องกั้นให้ติดอยู่ในสงสาร
๔๖. อัจจุตะ (อจฺจุต) นิพพานชื่อว่าอัจจุตะ เพราะเป็นธรรมที่ไม่จุติของพระอรหันต์ เป็นสภาพที่พระอริยะถึงแล้ว ไม่มีการเคลื่อนไปเป็นอย่างอื่น
(ตั้ง ๑ - ๔๖ นี้ เป็นชื่อที่ใช้เรียกนิพพานทั้งหมด คือเป็นชื่อของนิพพานทั้งหมด)
ภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ที่ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่มีเลย อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็มิใช่ โลกนี้ก็มิใช่ โลกอื่นก็มิใช่ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ทั้งสองก็มิใช่ อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวเลยซึ่งอายตนะนั้นว่าเป็นการมา เป็นการไป เป็นการยืน เป็นการจุติ เป็นการเกิด อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้นั่นแลที่สุดแห่งทุกข์
เมื่อเดินปัญญาแก่รอบเต็มที่แล้ว จิตจะรวมเข้าอัปปนาเอง ในนาทีที่จะตัดสินความรู้บรรลุ อริยมรรค อริยผล ... เจริญปัญญาให้มาก มีแค่ขณิกสมาธินะ ทุกวันพยายามไหว้พระสวดมนต์ไว้ ทำในรูปแบบ จิตหนีไปคิดแล้วรู้ทัน ฝึกให้มันมีขณิกสมาธิ แล้วมาเดินปัญญา รู้กาย รู้ใจ ในชีวิตประจำวัน ...สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว แล้วสิ่งนั้นดับไป อย่างนี้ก็ใช้ได้ ถ้าถึงขนาดเห็นองค์ฌานเกิดดับอย่างนี้มีน้อยเต็มที
ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไป ด้วยกำลัง ของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมา ให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง
จิตเกิดความอยาก จิตจะทุกข์ สังเกตุ ตอนนอนจะมีอาการลูกตากลอกไปมา ตาจะไม่นิ่งตอนหลับ..จิตจะยืมสภาวะธรรมต่าง..ต่าง..แล้วจะสร้างภพ..อย่าเชื่อมัน.
ผู้รู้น่ะจริง แต่สิ่งที่รู้ทั้งหลายนั้นไม่จริงเมื่อจิตว่างจาก "พฤติ" ต่างๆ แล้ว จิตก็จะถึง ความว่างที่แท้จริง ไม่มีอะไรให้สังเกตได้อีกต่อไป จึงทราบได้ว่าแท้ที่จริงแล้ว จิตนั้นไม่มีรูปร่าง มันรวมอยู่กับความว่าง ในความว่างนั้น ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ ซาบซึมอยู่ในสิ่งทุกๆ สิ่ง และจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน เมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง" จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมุติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า "นิพพาน"
ธรรมข้อนี้ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เคยสอนแบบพิสดารว่า
“ท่านเห็นกระจกไหม (หลวงพ่อ ตอบว่า เห็นครับ)
ท่านเห็นตัวที่อยู่ในกระจกไหม (หลวงพ่อ ตอบว่า เห็นครับ)
หลวงปู้ดูลย์ สรุปความเลยว่า ทั้งตัวที่เห็น และตัวที่ถูกเห็นในกระจกนี่ละตัวเกิด
นิพพานอยู่ตรงกลางระหว่างตัวรู้กับตัวถูกรู้ นั่นละ”
ดังนั้น สิ่งที่ผู้สนใจปฏิบัติพึงมี คือ ควรพยายามทำจิตให้เป็นหนึ่งก่อนอันดับแรก เพื่อไม่หลงไหลไปตามสิ่งที่ถูกรู้ ปฏิบัติให้รู้จนมีสติเกิดขึ้นกับตัวรู้จนเด่นชัดด้วยอำนาจของสติ
กล่าวสรุปคือ
“หากผู้รู้อยู่ไหน ก็ให้มีสติตามไปที่นั้น”
เมื่อถึงตรงนี้แล้ว ผู้ปฏิบัติจะพบทางว่า การเรียนรู้จากตัวจิต คือการเรียนรู้จากผู้รู้นี่เอง เป็นการเรียนลงไปในสิ่งที่เป็นสัจจะ คือของจริงที่มีประจำโลก ไม่เคยหายไปไหน ทั้งพระพุทธเจ้า และหมู่สัตว์ก็มีของจริง คือ จิตดวงนี้เสมอเหมือนกันทุกนาม
การเรียนจากของจริงเช่นว่านั้น ไม่ใช่เรียนจากสิ่งจิตปรุงหลอก หรือที่บางท่านเรียกว่า เงาของจิตนั่นเอง
เมื่อถึงตรงนี้แล้ว ท่านผู้ปฏิบัติจะค้นพบสัจธรรมอันเป็นความจริงได้เองว่า
ผู้รู้ก็คือ จิต นั่นเอง
ผู้รู้อยู่ที่ใด นั่นก็เรียกได้ว่า จิตก็อยู่ที่นั้นละ
หากเมื่อผู้ปฏิบัติสามารถเข้าถึงจิตหนึ่งได้แล้ว
ในขั้นนี้ จิตผู้รู้จะเริ่มทวนเข้าหาจิตเอง เนื่องจากอารมณ์ สังขาร สัญญาภายนอกออกแล้ว จิตจะสามารถแยกขันธ์ ออกได้เองว่า
สิ่งใดเป็นจิต สิ่งใดเป็นสิ่งที่จิตปรุงขึ้น
ผู้รู้น่ะจริง แต่สิ่งที่รู้ทั้งหลายนั้นไม่จริงเมื่อจิตว่างจาก "พฤติ" ต่างๆ แล้ว จิตก็จะถึง ความว่างที่แท้จริง ไม่มีอะไรให้สังเกตได้อีกต่อไป จึงทราบได้ว่าแท้ที่จริงแล้ว จิตนั้นไม่มีรูปร่าง มันรวมอยู่กับความว่าง ในความว่างนั้น ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ ซาบซึมอยู่ในสิ่งทุกๆ สิ่ง และจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน เมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง" จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมุติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า "นิพพาน"
ถ้าเราจะกลับมานั้นไม่ยาก..หมายความว่าเราหลงไป.. สุดท้าย จะเป็นบ้าเอา..ให้..กลับมาดูจิตของเรา.ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้ โดยแวบเดียวในขณะนั้น และ เราจะเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้อง ในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่ อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น
“ท่านเห็นกระจกไหม (หลวงพ่อ ตอบว่า เห็นครับ)
ท่านเห็นตัวที่อยู่ในกระจกไหม (หลวงพ่อ ตอบว่า เห็นครับ)
หลวงปู้ดูลย์ สรุปความเลยว่า ทั้งตัวที่เห็น และตัวที่ถูกเห็นในกระจกนี่ละตัวเกิด
นิพพานอยู่ตรงกลางระหว่างตัวรู้กับตัวถูกรู้ นั่นละ”
ดังนั้น สิ่งที่ผู้สนใจปฏิบัติพึงมี คือ ควรพยายามทำจิตให้เป็นหนึ่งก่อนอันดับแรก เพื่อไม่หลงไหลไปตามสิ่งที่ถูกรู้ ปฏิบัติให้รู้จนมีสติเกิดขึ้นกับตัวรู้จนเด่นชัดด้วยอำนาจของสติ
กล่าวสรุปคือ
“หากผู้รู้อยู่ไหน ก็ให้มีสติตามไปที่นั้น”
เมื่อถึงตรงนี้แล้ว ผู้ปฏิบัติจะพบทางว่า การเรียนรู้จากตัวจิต คือการเรียนรู้จากผู้รู้นี่เอง เป็นการเรียนลงไปในสิ่งที่เป็นสัจจะ คือของจริงที่มีประจำโลก ไม่เคยหายไปไหน ทั้งพระพุทธเจ้า และหมู่สัตว์ก็มีของจริง คือ จิตดวงนี้เสมอเหมือนกันทุกนาม
การเรียนจากของจริงเช่นว่านั้น ไม่ใช่เรียนจากสิ่งจิตปรุงหลอก หรือที่บางท่านเรียกว่า เงาของจิตนั่นเอง
เมื่อถึงตรงนี้แล้ว ท่านผู้ปฏิบัติจะค้นพบสัจธรรมอันเป็นความจริงได้เองว่า
ผู้รู้ก็คือ จิต นั่นเอง
ผู้รู้อยู่ที่ใด นั่นก็เรียกได้ว่า จิตก็อยู่ที่นั้นละ
หากเมื่อผู้ปฏิบัติสามารถเข้าถึงจิตหนึ่งได้แล้ว
ในขั้นนี้ จิตผู้รู้จะเริ่มทวนเข้าหาจิตเอง เนื่องจากอารมณ์ สังขาร สัญญาภายนอกออกแล้ว จิตจะสามารถแยกขันธ์ ออกได้เองว่า
สิ่งใดเป็นจิต สิ่งใดเป็นสิ่งที่จิตปรุงขึ้น
ได้ประพฤติปฏิบัติกัน มาในวัฏฏะแล้ว เหมือนน้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำ และการอยู่
เป็นคณะก็ได้ประพฤติกันมาแล้วในนรก กำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน ปิตติวิสัย
และอสุรกายก็มี ในมนุษยโลก เทวโลก และพรหมโลกก็มี นรกหมื่นโยชน์
แน่นไปด้วยสัตว์ทั้งหลาย เหมือนทะนานที่เต็มไปด้วยผงคีบุก
ขั้นนี้ นอกจากจะขุดอวิชชาได้หมดแล้ว จำต้องคายอวิชชาที่ขุดนั้นออกไปด้วย และไม่มีเหลืออีก อุปมาเหมือนขุดรากถอนโคนหญ้ารกออกหมด ไม่เหลือเศษเหง้าเมล็ดและเชื่อให้เกิดใหม่ได้อีกเลย ในขั้นนี้ จะเป็นขั้นที่จิตมีกระบวนการต่อเนื่องจากขั้นการขุดรากอวิชชา คือ กริยาที่จิตขุดตะกอน, สันดอน, สิ่งยึดมั่นถือมั่น, สังโยชน์ใดๆ ออกหมดแล้ว