หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2560

ทางพ้นทุกข์ ประโยชน์ที่แท้จริงของพระพุทธ เราอย่าไปคิดว่าจิตมีดวงเดียวเที่ยววิ่งไปวิ่งมา ที่จริงจิตเกิดดับสืบเนื่องกันอย่างรวดเร็ว จนเกิดภาพลวงตาว่าจิตมีดวงเดียว เที่ยววิ่งไปวิ่งมาเหมือนภาพการ์ตูน ซึ่งแต่ละภาพไม่มีความเคลื่อนไหว แต่พอภาพเกิดดับสืบเนื่องกันอย่างรวดเร็ว จึงเกิดภาพลวงตาว่าตัวการ์ตูนเคลื่อนไหวได้ ความจริงจิตนั้นเกิดดับตลอดเวลา จิตไม่ได้เที่ยงนะในขณะที่พวกเราเห็นว่าจิตเที่ยง จิตของเราวันนี้กับจิตของเราตอนเด็กๆ ยังเป็นคนเดิมอยู่เลย จิตของเราวันนี้กับจิตปีหน้าก็คนเดิมอีก จิตของเราเดี๋ยวนี้กับชาติหน้าก็คนเดิมอีก ฉะนั้นบางคนเลยต้องเตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัว เพราะว่ามันเป็นคนเดิม แต่ก็ต้องเลี้ยงนะ ไม่ใช่บอกว่าไม่ต้องทำความดี คอยฝึกไปนะ วันหนึ่งก็จะเห็นเลยว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา เวทนาคือความสุขความทุกข์ไม่ใช่เรา จิตตสังขารไม่ใช่เรา ตัวจิตแท้ๆ ที่เป็นผู้รู้นะ เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง เกิดดับเปลี่ยนแปลงไป ไม่ใช่ตัวเราที่เที่ยงๆ หรอก ตัวเราที่เที่ยงๆ ไม่มี วันใดที่จิตมันเดินปัญญาแก่รอบถึงขนาดนี้แล้ว จิตมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเองนะ แล้วเกิดอริยมรรคขึ้น โสดาปัตติมรรคจะตัดความเห็นผิดว่ามีตัวเราออกไป พอถอยออกมาจากโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล แล้วกลับมาสู่โลกมนุษย์นี่ เวลาเราดูเข้ามาในจิตใจตัวเองจะไม่มีแม้แต่เงาของความรู้สึกว่ามีตัวเรา เงาก็ไม่มีนะ ถ้าขาดด้วยอริยมรรคแล้ว จะไม่มีความรู้สึกเป็นตัวเราโผล่ขึ้นมาอีกเลย ผู้ใดเห็นว่ากายไม่ใช่เรา จิตใจไม่ใช่เรา ตัวเราไม่มี นั่นแหละคือภูมิธรรมของพระโสดาบัน ถัดจากนั้นก็มารู้กายรู้ใจต่อไปอีก พระโสดาบันกับปุถุชนก็ภาวนาอย่างเดียวกันนั่นแหละ คือรู้กายรู้ใจเรื่อยๆ ไป รู้ไปอีก รู้ซ้ำแล้วซ้ำอีก จนวันหนึ่งมันรู้แจ้งลึกซึ้งขึ้นมาอีก กิเลสตัณหาก็อ่อนกำลังลงไป เรียกว่า พระสกิทาคามี รู้ลงไปอีกภายในใจนะ สติปัญญามันจะขมวดเข้ามาเรียนรู้กายเป็นหลักเลย รู้ลงไป รู้ลงไป กายมันของหยาบ มันดูง่าย ดูไปๆ แล้วละง่าย จะเห็นเลยว่ากายนี้มันเป็นตัวทุกข์ล้วนๆ วันใดที่เห็นว่ากายเป็นตัวทุกข์ล้วนๆ ก็หมดความยึดถือกาย ก็จะหมดความกลุ้มใจเพราะต้องกระทบอารมณ์ทางกาย กระทั่งกายเรายังไม่ยึดถือเลย เราจะไปยึดถืออารมณ์ที่กระทบทางกายทำไม ที่เรายึดถือร่างกายอยู่ เพราะว่าร่างกายนี้เป็นช่องทางให้เรากระทบอารมณ์ที่น่าเพลิดเพลิน อย่างเรามีตาอยู่ใช่ไหม เราก็ได้ดูรูปสวยๆ อย่างมีหูก็ได้ฟังเสียงไพเราะๆ เสียงดีๆ อย่างมีจมูกได้กลิ่นหอมอยู่ นี่เรารักร่างกายเพราะมันเอาของดีมาให้เรา เรารู้สึกว่ามันดี แต่ถ้าวันหนึ่งเราเห็นกายนี้ทุกข์ล้วนๆ เลย เราก็จะไม่หลงไปในรูปเสียงกลิ่นรส โผฏฐัพพะที่มากระทบตาหูจมูกลิ้นกายนี่ จิตมันจะไม่มีความยินดี ไม่มีความยินร้าย มันพ้นจากความยินดียินร้ายในรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ เรียกว่ามันพ้นจากกามและปฏิฆะ พระอนาคามีละกามและปฏิฆะได้เพราะไม่ยึดกาย หมดความยึดกายเพราะเห็นความจริงว่ากายนี้ทุกข์ล้วนๆ เห็นอย่างนี้ อย่างไรก็ตาม นักปฏิบัติที่ชำนาญในการดูจิต สามารถมีสติตามรู้จิตจนเห็นความจริงว่า เมื่อใดจิตมีความอยาก เมื่อใดจิตมีความยึดถืออารมณ์ต่างๆ เมื่อนั้นจิตจะทุกข์ เมื่อใดจิตพ้นจากความอยากและความยึดถืออารมณ์ จิตจะไม่ทุกข์ พอเห็นแจ้งอย่างนี้ จิตก็ไม่ยึดถือในกายและกามคุณอารมณ์ จิตพ้นจากกามและปฏิฆะ เป็นพระอนาคามีได้เช่นกัน ทีนี้พอฝึกจนถึงขั้นพระอนาคามี สมาธิจะบริบูรณ์ จิตตั้งมั่นเด่นดวงอยู่ทั้งวันเลย จะรู้สึกว่าตัวผู้รู้นี่แหละเป็นของดีของวิเศษเป็นที่พึ่งที่อาศัย ถ้าเราอยู่กับตัวผู้รู้นี่เราไม่ทุกข์ ถ้าเราเป็นตัวผู้หลงเมื่อไรถึงจะทุกข์ ฉะนั้นจิตนี้ดีนะ จิตตัวผู้รู้นี่ดี ใจมันจะยึดตัวดีนี้ไว้ ไม่ปล่อยวางจิตต่อเมื่อวันใดมีสติปัญญาแก่รอบจริงๆ เห็นว่าตัวจิตนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์ให้เราดู มันพลิกของมันเองนะ มันพลิกให้เราดูเอง อยู่ๆ จะไปนึกเอาว่าตัวจิตผู้รู้เป็นตัวทุกข์ มันนึกไม่ออกหรอก เพราะไม่เคยเห็น ต้องมีสติมีปัญญาแก่กล้าพอ มันจะพลิกตัวให้ดูว่ามันทุกข์ล้วนๆ ไม่มีอะไรทุกข์เท่านี้อีกแล้ว อย่างบางคนบอกว่าอกหักทุกข์มาก ตัวจิตผู้รู้นี่ถึงไม่อกหักมันก็ทุกข์ มันทุกข์ยิ่งกว่านั้นอีก มันทุกข์จนเรามีความรู้สึกว่า ถ้าเรารู้มันต่อไป เราจะตายแล้ว อกหักเฉยๆ เรารู้ว่าอกหักไม่ตายนะ อกหักแล้วกำลังกลุ้มใจอยู่ เสียอกเสียใจอยู่ ถ้าเรารู้ว่าเสียอกเสียใจอยู่หายเลย แต่ตัวผู้รู้เวลามันกลายเป็นตัวทุกข์ให้ดูนี่ ยิ่งรู้มันยิ่งทุกข์ ยิ่งรู้มันยิ่งทุกข์ ทุกข์มากขึ้นเรื่อยๆ ทุกข์เหมือนจะตายเลย ทุกข์เหมือนไม่ตายก็บ้า นี่ใจมันต้องเห็นทุกข์นะถึงจะยอมวาง ผู้ที่ปล่อยวางจิตได้เรียกว่าพระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ถึงบอกว่านิพพานอยู่ฟากตาย ไม่ภาวนากันจนถึงขีดสุดจริงๆ ไม่ยอมปล่อยวางจิตหรอกเพราะเราหวง





เราอย่าไปคิดว่าจิตมีดวงเดียวเที่ยววิ่งไปวิ่งมา ที่จริงจิตเกิดดับสืบเนื่องกันอย่างรวดเร็ว จนเกิดภาพลวงตาว่าจิตมีดวงเดียว เที่ยววิ่งไปวิ่งมาเหมือนภาพการ์ตูน ซึ่งแต่ละภาพไม่มีความเคลื่อนไหว แต่พอภาพเกิดดับสืบเนื่องกันอย่างรวดเร็ว จึงเกิดภาพลวงตาว่าตัวการ์ตูนเคลื่อนไหวได้

ความจริงจิตนั้นเกิดดับตลอดเวลา จิตไม่ได้เที่ยงนะในขณะที่พวกเราเห็นว่าจิตเที่ยง จิตของเราวันนี้กับจิตของเราตอนเด็กๆ ยังเป็นคนเดิมอยู่เลย จิตของเราวันนี้กับจิตปีหน้าก็คนเดิมอีก จิตของเราเดี๋ยวนี้กับชาติหน้าก็คนเดิมอีก ฉะนั้นบางคนเลยต้องเตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัว เพราะว่ามันเป็นคนเดิม แต่ก็ต้องเลี้ยงนะ ไม่ใช่บอกว่าไม่ต้องทำความดี

คอยฝึกไปนะ วันหนึ่งก็จะเห็นเลยว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา เวทนาคือความสุขความทุกข์ไม่ใช่เรา จิตตสังขารไม่ใช่เรา ตัวจิตแท้ๆ ที่เป็นผู้รู้นะ เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง เกิดดับเปลี่ยนแปลงไป ไม่ใช่ตัวเราที่เที่ยงๆ หรอก ตัวเราที่เที่ยงๆ ไม่มี

วันใดที่จิตมันเดินปัญญาแก่รอบถึงขนาดนี้แล้ว จิตมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเองนะ แล้วเกิดอริยมรรคขึ้น โสดาปัตติมรรคจะตัดความเห็นผิดว่ามีตัวเราออกไป พอถอยออกมาจากโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล แล้วกลับมาสู่โลกมนุษย์นี่ เวลาเราดูเข้ามาในจิตใจตัวเองจะไม่มีแม้แต่เงาของความรู้สึกว่ามีตัวเรา เงาก็ไม่มีนะ ถ้าขาดด้วยอริยมรรคแล้ว จะไม่มีความรู้สึกเป็นตัวเราโผล่ขึ้นมาอีกเลย

ผู้ใดเห็นว่ากายไม่ใช่เรา จิตใจไม่ใช่เรา ตัวเราไม่มี นั่นแหละคือภูมิธรรมของพระโสดาบัน

ถัดจากนั้นก็มารู้กายรู้ใจต่อไปอีก พระโสดาบันกับปุถุชนก็ภาวนาอย่างเดียวกันนั่นแหละ คือรู้กายรู้ใจเรื่อยๆ ไป รู้ไปอีก รู้ซ้ำแล้วซ้ำอีก จนวันหนึ่งมันรู้แจ้งลึกซึ้งขึ้นมาอีก กิเลสตัณหาก็อ่อนกำลังลงไป เรียกว่า พระสกิทาคามี

รู้ลงไปอีกภายในใจนะ สติปัญญามันจะขมวดเข้ามาเรียนรู้กายเป็นหลักเลย รู้ลงไป รู้ลงไป กายมันของหยาบ มันดูง่าย ดูไปๆ แล้วละง่าย จะเห็นเลยว่ากายนี้มันเป็นตัวทุกข์ล้วนๆ วันใดที่เห็นว่ากายเป็นตัวทุกข์ล้วนๆ ก็หมดความยึดถือกาย ก็จะหมดความกลุ้มใจเพราะต้องกระทบอารมณ์ทางกาย กระทั่งกายเรายังไม่ยึดถือเลย เราจะไปยึดถืออารมณ์ที่กระทบทางกายทำไม ที่เรายึดถือร่างกายอยู่ เพราะว่าร่างกายนี้เป็นช่องทางให้เรากระทบอารมณ์ที่น่าเพลิดเพลิน

อย่างเรามีตาอยู่ใช่ไหม เราก็ได้ดูรูปสวยๆ อย่างมีหูก็ได้ฟังเสียงไพเราะๆ เสียงดีๆ อย่างมีจมูกได้กลิ่นหอมอยู่ นี่เรารักร่างกายเพราะมันเอาของดีมาให้เรา เรารู้สึกว่ามันดี แต่ถ้าวันหนึ่งเราเห็นกายนี้ทุกข์ล้วนๆ เลย เราก็จะไม่หลงไปในรูปเสียงกลิ่นรส โผฏฐัพพะที่มากระทบตาหูจมูกลิ้นกายนี่ จิตมันจะไม่มีความยินดี ไม่มีความยินร้าย มันพ้นจากความยินดียินร้ายในรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ เรียกว่ามันพ้นจากกามและปฏิฆะ พระอนาคามีละกามและปฏิฆะได้เพราะไม่ยึดกาย หมดความยึดกายเพราะเห็นความจริงว่ากายนี้ทุกข์ล้วนๆ เห็นอย่างนี้

อย่างไรก็ตาม นักปฏิบัติที่ชำนาญในการดูจิต สามารถมีสติตามรู้จิตจนเห็นความจริงว่า เมื่อใดจิตมีความอยาก เมื่อใดจิตมีความยึดถืออารมณ์ต่างๆ เมื่อนั้นจิตจะทุกข์ เมื่อใดจิตพ้นจากความอยากและความยึดถืออารมณ์ จิตจะไม่ทุกข์ พอเห็นแจ้งอย่างนี้ จิตก็ไม่ยึดถือในกายและกามคุณอารมณ์ จิตพ้นจากกามและปฏิฆะ เป็นพระอนาคามีได้เช่นกัน

ทีนี้พอฝึกจนถึงขั้นพระอนาคามี สมาธิจะบริบูรณ์ จิตตั้งมั่นเด่นดวงอยู่ทั้งวันเลย จะรู้สึกว่าตัวผู้รู้นี่แหละเป็นของดีของวิเศษเป็นที่พึ่งที่อาศัย ถ้าเราอยู่กับตัวผู้รู้นี่เราไม่ทุกข์ ถ้าเราเป็นตัวผู้หลงเมื่อไรถึงจะทุกข์ ฉะนั้นจิตนี้ดีนะ จิตตัวผู้รู้นี่ดี ใจมันจะยึดตัวดีนี้ไว้ ไม่ปล่อยวางจิตต่อเมื่อวันใดมีสติปัญญาแก่รอบจริงๆ เห็นว่าตัวจิตนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์ให้เราดู มันพลิกของมันเองนะ มันพลิกให้เราดูเอง

อยู่ๆ จะไปนึกเอาว่าตัวจิตผู้รู้เป็นตัวทุกข์ มันนึกไม่ออกหรอก เพราะไม่เคยเห็น ต้องมีสติมีปัญญาแก่กล้าพอ มันจะพลิกตัวให้ดูว่ามันทุกข์ล้วนๆ ไม่มีอะไรทุกข์เท่านี้อีกแล้ว อย่างบางคนบอกว่าอกหักทุกข์มาก ตัวจิตผู้รู้นี่ถึงไม่อกหักมันก็ทุกข์ มันทุกข์ยิ่งกว่านั้นอีก มันทุกข์จนเรามีความรู้สึกว่า ถ้าเรารู้มันต่อไป เราจะตายแล้ว อกหักเฉยๆ เรารู้ว่าอกหักไม่ตายนะ อกหักแล้วกำลังกลุ้มใจอยู่ เสียอกเสียใจอยู่ ถ้าเรารู้ว่าเสียอกเสียใจอยู่หายเลย แต่ตัวผู้รู้เวลามันกลายเป็นตัวทุกข์ให้ดูนี่ ยิ่งรู้มันยิ่งทุกข์ ยิ่งรู้มันยิ่งทุกข์ ทุกข์มากขึ้นเรื่อยๆ ทุกข์เหมือนจะตายเลย ทุกข์เหมือนไม่ตายก็บ้า นี่ใจมันต้องเห็นทุกข์นะถึงจะยอมวาง ผู้ที่ปล่อยวางจิตได้เรียกว่าพระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ถึงบอกว่านิพพานอยู่ฟากตาย ไม่ภาวนากันจนถึงขีดสุดจริงๆ ไม่ยอมปล่อยวางจิตหรอกเพราะเราหวง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น